เล่าเรื่องผีหลอก

อ่านบทความพิเศษ “เล่าเรื่องผีหลอก” เขียนโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
จาก Bioscope ฉบับที่ 78 เดือนพฤษภาคม 2551 แล้ว ทนไม่ได้จริงๆ
อยากจะมาประกาศให้ไปหาซื้อมาอ่านกันเยอะๆ (หน้าปก Indiana Jones)

สำหรับคนที่ไม่ทราบมาก่อน ย่อๆ ก็คือ ‘แสงศตวรรษ’ หรือ Syndromes and a Century
คือหนังที่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์
เมื่อวันที่ 2 เมษายน และ 10 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยมีเงื่อนไขให้ตัดฉากสำคัญออกไป 4 ฉาก
(ภายหลังจากอุทธรณ์แล้วเพิ่มเป็น 6 ฉาก) คือ

  1. ฉากพระเล่นกีตาร์
  2. ฉากพระเล่นเครื่องร่อน
  3. ฉากหมอกอดจูบกับแฟนสาวแล้วเป้าตุง
  4. ฉากหมอดื่มเหล้าในโรงพยาบาล
  5. ฉากที่เห็น พระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ใหม่)
  6. ฉากที่ปรากฏให้เห็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับคู่กับสมเด็จย่า (ใหม่)

ซึ่งทางคณะกรรมการชี้ว่ามีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์
ถ้าตัดออกตามนี้แล้วจึงจะอนุญาตให้ฉายได้ ซึ่งอภิชาติพงศ์ ได้ตัดสินใจที่ไม่ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเทศไทย
(ข้อมูลโดยละเอียดแนะนำให้อ่านที่ วิกิพีเดียและลิงก์อ้างอิงอื่นๆ ในวิกิพีเดียเช่นกัน)

ขอเลือกที่จะยกมาให้อ่านบางส่วนก็แล้วกันครับ

พวกเราสองคนออกมาจากห้องแล้วพยายามจดและทบทวนคำพูดหลอนประสาทต่างๆ ของพวกเขา
(ผู้เขียนขอบอก ณ ที่นี้ว่า นี่ไม่ใช่การยกคำพูดของพวกท่านผู้มีเกียรติเหล่านี้มาอย่างทุกถ้อยคำ) ดังนี้

ผู้แทนเลขาธิการแพทยสภา :

  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำความเสื่อมเสียให้วงการแพทย์ไทยเพราะมีฉากแพทย์จิบสุราในเวลางาน (แพทย์หญิงสูงวัยเกิดการประหม่าเนื่องจากจะต้องออกโทรทัศน์ จึงจิบสุรา – ผู้กำกับ)
  • ทำไมผู้สร้างไม่ทำหนังที่พูดถึงด้านดีๆ ของหมอออกมา แสดงว่าไม่รู้ ไม่ศึกษาจริยธรรมของแพทย์
  • แปลกใจที่ทราบว่าผู้สร้างมีพ่อแม่เป็นหมอ
  • ทำไมไม่ทำฉากที่นักศึกษาแพทย์หลังเลิกงานแล้วเล่นกีฬากัน แล้วอาจจะมีจิบๆ เหล้าบ้างก็น่าจะได้
  • คุณรู้จักวงการแพทย์ดีพอแค่ไหนที่จะทำหนังเรื่องนี้
  • ถ้าปล่อยฉากเหล่านี้ออกไป แล้วมีคนร้องเรียนมา ดิฉันก็จะต้องทำงานไม่จบไม่สิ้น (นี่แสดงว่าขี้เกียจทำงานหรือเปล่า ความจริงแล้วถ้าเขาร้องเรียนมา เขาก็ฟ้องที่ผู้สร้างทางกฎหมาย คุณไม่ต้องมารับผิดชอบ)

นักวิชาการด้านภาพยนตร์

  • ไม่น่าจะได้ฉายให้คนนอกดู ทำหนังไม่เป็น

จากฝ่ายที่ผู้สร้างจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนกล่าว

  • ไม่ควรเสนอภาพพจน์ที่ไม่ดีของสังคมไทยเช่นนี้ต่อชาวต่างชาติ
  • ทำไมไม่วางมุมกล้องอย่างนี้ๆ ถ้าเป็นผม ผมจะตัดอีกแบบหนึ่ง ไม่ใช่อะไรอย่างนี้
  • พระเล่นกีตาร์ผมพออนุโลมได้ เพราะคนดูอาจคิดได้ว่าเป็นพระลาว แต่พอเอารูปปั้นของพระบิดากับสมเด็จย่ามาแสดง ทำให้เขารู้กันว่าเป็นหมอไทย อย่างนี้ไม่ได้ จะทำให้รู้ว่าเป็นประเทศไทย ขอให้ตัดออก (รู้สึกขนลุกเมื่อได้ยินความคิดเห็นเหยียดชาติพันธุ์นี้ และเกี่ยวกับพระรูปในความตั้งใจ คือการยกย่องบิดามารดาของตนเอง – ผู้กำกับ)
  • หมอกินเหล้าได้ แต่การนำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้ทำออกมาไม่มีศิลปะเพียงพอ
  • ทำไมต้องมีฉากอวัยวะเพศแข็งตัวในร่มผ้า มันน่าเกลียด แค่จูบกันก็มากพอแล้ว แล้วยังเอามือไปจับๆ (ถึงตอนนี้ผู้สร้างอธิบายว่าเป็นความเขินอายที่ตัวละครพยายาม ซุกซ่อนอวัยวะของเขา ไม่ได้ปลุกมันขึ้นมา และมีหนังเรื่องอื่นที่มีฉากแบบนี้เคยฉายมาแล้วโดยตั้งใจลามกอย่างที่ท่านว่าด้วยซ้ำ) ตำรวจ: ผมมองว่ามันเป็นการจับโชว์ผู้หญิง และเหมือนปลุกอารมณ์มากกว่า ควรตัดออกเสีย
  • จริงๆ แล้วผมไม่ขัดข้องเลย เพราะเคยให้ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่รุนแรงมากกว่านี้ผ่านออกมาแล้ว
  • ทำไมไม่ทำหนังที่ให้อะไรดีๆ กับสังคม

คุณเจ้ยบอกว่า
“บทความนี้สร้างขึ้นมาจากจินตนาการของผู้เขียนเอง
หลายพฤติกรรมของตัวละครอาจจะไม่เหมาะสม ควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน”

ผมเข้าใจแจ่มแจ้งเลยที่เค้าบอกว่า หลังจากออกมาจากห้องพิจารณากับคณะกรรมการฯ
ทั้ง 10 คนที่เป็นตัวแทนจากต่างสาขาอาชีพ แล้วบอกว่า
“มีความรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่ในห้องสืบสวนราวๆ หนึ่งชั่วโมง และเดินออกมาเหมือนถูกดูดวิญญาณออกไปหมด”

อย่าลืมครับ ไบโอสโคป ฉบับที่ 78 เดือนพฤษภาคม 2551 หน้าปก Indiana Jones
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:
แสงศตวรรษ (วิกิพีเดีย)
รายงานความเคลื่อนไหว แสงศตวรรษ (ThaiCinema.org)
‘แสงศตวรรษ’ หนังดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ (ประชาไท)

5 thoughts on “เล่าเรื่องผีหลอก”

  1. นักวิชาการภาพยนตร์ที่บอกว่า “ทำหนังไม่เป็น” นี่มันใครกันเนี่ย

  2. I’ve not seen the whole movie yet. i want to.

    “ฉากแพทย์จิบสุรา” (youtube). It’s very funny.

  3. ได้ดูแล้ว แต่ติส ไม่พอเลยไม่เข้าใจสิ่งที่หนังต้องการสื่อหลายเรื่องเลยครับ

  4. ไปดูหนังที่สนุกๆไม่เครียดกันดีกว่าว่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *