นักวิทยาศาสตร์จะปรับเวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 วินาทีในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2548 โดยหลังจาก 23:59:59 น.
จะมี 23:59:60 น.ก่อนจะเป็น 0.00.00 น. ในวันที่ 1 มกราคม 2549
เวลาที่เพิ่มมานี้เรียกว่า Leap Second ครับ โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับ Leap Year มากกว่า
เพราะเป็นเรื่องสำคัญในการกำหนดวันที่ของแต่ละปี เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันครับ เจ้า Leap Second เนี่ย
ตั้งแต่มีการกำหนด Leap Second ขึ้นมาครั้งแรกเมื่อ 30 มิถุนายน 2515 ก็มีการปรับเวลาแบบนี้กันเกือบทุกปี
บางปีก็ปรับกัน 2 ครั้งเลย คือกลางปี (30 มิถุนายน) และปลายปี (31 ธันวาคม)
ดูได้จาก NIST Time Scale Data Archive ครับ
จะเห็นว่าครั้งล่าสุดก็คือวันเดียวกันนี้เมื่อปี 2542 เว้นไปซะนาน ก็ถึงเวลาต้องมาปรับกันอีกรอบ
สาเหตุที่เกิด Leap Second ขึ้นก็เพื่อรักษาความใกล้เคียงกันของมาตรฐานเวลาสากลกับที่ยึดตาม นาฬิกาอะตอม
กับมาตรฐานเวลาทางดาราศาสตร์ ที่ยึดตามอัตราการหมุนของโลก ซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละวันตามแรงดึงดูดของดวงจันทร์กับกระแสน้ำ
เทียบกับนาฬิกาอะตอมที่ปัจจุบันนี้เที่ยงตรงขนาดล้านปีก็แทบไม่เพี้ยน จะมีความแตกต่างกันเฉลี่ยปีละประมาณ 0.9 วินาที
คนที่ต้องการเวลาที่เที่ยงตรงขนาดนั้น อ่านจากบทความนาฬิกาในอนาคตอีกล้านปีข้างหน้าในหัวข้อฟิสิกส์ของ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
(ท่านเขียนหนังสือแนวนี้ออกมาหลายเล่ม น่าหามาอ่านมากครับ โดยเฉพาะชุดวิทยาการแห่งอารยะ ของ สนพ.สารคดี)
ก็ได้แก่เหล่านักฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ที่ใช้ทดสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
นักดาราศาสตร์ที่จับตาดูการเคลื่อนตัวของกาแล็คซี่ นักธรณีวิทยาที่สังเกตการขยับของแผ่นเปลือกโลก ฯลฯ
อย่างเราๆ แค่จะนับถอยหลังกัน (หลังจากเมากันได้ที่) คงไม่สนใจอยู่แล้วมั้ง…
ที่มา – News.com
—-
เพิ่มเติม – มีบทความดีๆ ของคุณพวงร้อยที่เขียนไว้ตั้งแต่ต้นปีเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ วิชาการ.คอม ด้วยครับ